top of page
เคสไอแพดโปร
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนSheep Admin

ซิลิโคน Signature แบบอ่อนที่สุดจาก AppleSheep


ซิลิโคนอ่อนคืออะไร? มีข้อดี ข้อเสียยังไง ทำไม AppleSheep ถึงเลือกใช้ซิลิโคนแบบอ่อนที่สุดในการประกอบเคส? และวัสดุแบบไหนเหมาะกับใคร? วันนี้ AppleSheep อาสาเล่าให้ฟังครับ


ก่อนอื่นต้องขอแยก วัสดุหลักๆ สำหรับเคส iPad เป็นประมาณ 3 ประเภทให้ลูกค้าเห็นภาพกว้างๆก่อนครับ ว่าในตลาดไอแพดนั้นมีวัสดุแบบไหนบ้างที่นำมาทำ เป็นฐานใส่ตัวไอแพด (ไม่รวมปกหน้า แม่เหล็ก และส่วนประกอบอื่นๆนะครับ เอาแค่ตัว ขอบเคสเท่านั้นครับ)


หลักๆแล้วตัววัสดุจะมีด้วยกัน 3 ประเภท

  1. พลาสติก

  2. ซิลิโคนหรือTPU (เช่น Origami / Trifold / People / UAG Metropolis)

  3. Composite รวมระหว่างพลาสติกและซิลิโคนเข้าด้วยกัน ( เช่นเคส Sheep Titan / STM / Otterbox)


แล้วจะใช้ขอบประเภทไหนดีจาก 3 ประเภทด้านต้น ต้องขอบอกแบบนี้ครับว่า วัสดุแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสีย ต่างกัน เยอะพอสมควรครับ ไม่มีอันไหนดีที่สุด ไม่มีอันไหนแย่ที่สุดครับ

  1. พลาสติกจะมีราคาถูกที่สุด เปราะบางหักง่าย ไม่กันกระแทก และทำให้เครื่องเป็นรอยขนแมวเวลาใส่ แต่ความบางเฉียบ น้ำหนักเบาสุด ต้องยกให้พลาสติกเขาละครับ

  2. ซิลิโคนจะมีราคาปานกลาง อยู่ที่การเลือกใช้ส่วนประกอบด้วยครับ ว่าจะใช้เกรดไหนยังไง มีความยืดหยุ่นสูง ถอดเข้าถอดออกง่าย ใช้งานง่ายที่สุด ล้อคขอบไอแพดไม่แน่นเท่า พลาสติกและ Composite

  3. Composite จะมีราคาแพงที่สุดอยู่แล้ว ดูจากราคาเคสแต่ละประเภทที่ใช้ ก็คือ 2000 อัพ ไม่กัดขอบเป็นรอย แต่จะมีความหนาและหนักมากเป็นพิเศษ ขอบแข็ง ถอดเข้าถอดออกยากมาก


เราจะเห็นได้ว่า วัสดุแต่ละประเภทนั้นไม่มีอันไหน Perfect 100% ไม่มีวัสดุไหนที่ บางที่สุด เบาที่สุด กันกระแทกดีที่สุด ถูกที่สุด ล้อคขอบแน่นที่สุด ใช้งานง่ายที่สุด ไม่มีแน่นอนครับ อย่างที่เราบอกเสมอมาว่า มันไม่มีเคสไหนที่ใช้คำว่าดีที่สุดได้ครับ มีแต่เคสไหนเหมาะสมที่สุดกับคนใช้คนนั้น


วันนี้จะมาอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของซิลิโคนซึ่งมีความหลากหลายมากที่สุด และอธิบายว่าทำไม AppleSheep ถึงตั้งใจเลือกใช้ซิลิโคนแบบที่อ่อนที่สุด ให้เคสแบบ Origami และ Trifold ของเราซึ่งบางคนก็รู้สึกว่ามันอ่อนไปด้วยซ้ำครับ ต้องขออธิบายอย่างงี้ครับว่า ซิลิโคนนั้นมีทั้งที่ขอบแข็งและขอบอ่อน ขอบยิ่งแข็งซิลิโคนจะยิ่งทึบ ขอบยิ่งอ่อนซิลิโคนจะยิ่งใส ซึ่งของที่ร้านเลือกเบอร์อ่อนสุด ซึ่งเราตั้งใจให้เป็นแบบนั้นครับและใช้มาตั้งแต่ปี 2017 แล้วครับ การทำซิลิโคนแบบที่เราทำจะเห็นว่าในตลาดไม่มีใช้กันครับ เพราะอะไรใช่ไหมครับ เพราะความใสมันเป็นปัญหาในการผลิตครับ





  1. ราคามันแพงมากครับ เพราะต้องใช้เรซิ่นที่บริสุทธิ์ 100% เท่านั้น ถ้าเจือปนแค่ 0.5% เคสจะเป็นเม็ดดำๆให้เห็นทันที ต่างจากพวกเคสสีทึบซึ่งสามารถผสมอะไรลงไปก็ได้เพราะยังก็ออกมาดำอยู่แล้ว (เหมือนการทำถุงขยะสีดำที่ใช้ตามบ้านครับเอาวัสดุ recycle มาแล้วก็ผสมๆสีมั่วๆซั่วๆ ก็ได้ละครับ ซึ่งถูกที่สุดด้วยครับ)

  2. คนทำท้อแท้ครับ เพราะการทำเคสใสอ่อนแบบนี้มี Defect Rate อยู่ที่ 50% ฟังไม่ผิดครับ 50% คือ ทำ 2 ต้องทิ้ง 1 ทำ 1000 ต้องทิ้ง 500 ชิ้นครับ เพราะว่าเคสใสที่เป็นสีใสๆแบบนี้ ทำให้ใสแบบไม่มีรอยน้ำ ไม่มีตำหนิ ใสกิ๊กๆ แบบของเราเลย ต้องผ่านการ QC ทับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งก็ต่างกับเคสสีดำล้วน ซึ่งทำยังไงก็ไม่มีรอยน้ำ เป็นตำหนิเม็ดๆมาก็ไม่เห็นอยู่ดี เพราะทุกอย่างทึบไปหมด


"ยุ่งยากขนาดนั้น ทำไม ไม่เปลี่ยน พราะอะไร? ตอบสั้นๆเลยครับ ว่าเพราะ อุดมการณ์มันค้ำคอและข้อดีสำหรับเรามันยังมากกว่าข้อเสีย"


  1. ซิลิโคนที่ขอบแข็งและความยืดยุ่นน้อย จะมากับความหยาบกระด้างส่วนใหญ่จะเป็นสีทึบมืดๆ มันไม่ให้ความรู้สึกหรูหรา มันดูไม่แพงและไม่เพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ใช้ซะเลย พอลูกค้าถือแล้วมันดูหม่นๆ ขัดกับหลักการความสวยงามของเครื่อง iPad ที่ Apple ตั้งใจได้ทำมา และ ความตั้งใจของ AppleSheep ที่จะทำให้เคสมีความ Stylish เพิ่มภาพลักษณ์ผู้ใช้งานดูดีขึ้น ถ้าจะใช้ ซิลิโคนขอบแข็งๆ ทางร้านเลือกที่จะไปใช้ Composite เลยดีกว่า ต้นทุกสูงกว่า แต่ได้งานที่คุณภาพดีกว่า และสวยกว่าเยอะครับครับ (อย่างเคส Titan ซึ่งก็จะมีราคาสูงขึ้นไปอีกด้วย)

ข้อดีที่มากกว่าข้อเสียมีเรื่องอะไรบ้าง

  1. ข้อดีเรื่องแรกก็คือเรื่องฟิล์ม เคสขอบอ่อนจะไม่ดันฟิล์มเด็ดขาด รวมถึงยังติดฟิล์มหลังได้อีกด้วย บางครั้งใช้เคสเราอันเดียว 2-3 ปี แต่เปลี่ยนฟิล์มกัน 5-6 แผ่น ฟิล์มแผ่นนึงติดตามร้านตู้กับหรือในห้างบางทีแพงกว่าค่าเคสอีกครับ ซึ่งถ้าติดมาแล้วใช้ไม่ได้ ก็จะหงุดหงิดมากครับ กับพวกฟิล์มรอบเครื่องที่เป็นที่นิยมกันหลังๆ ถ้าใช้พวกเคสที่รัดขอบแน่นๆ มันจะค่อยๆกินพวกฟิล์มรอบเครื่อง บางครั้งเคสก็แน่นไปพอไปติดฟิล์มรอบเครื่อง ความหนาก็หนาขึ้นทำให้ทุกอย่างมันแน่นและรัดไปหมด สุดท้ายรู้อีกทีเครื่องงอแล้วครับ

  2. ข้อดีอีกข้อคือมันถอดเข้าออกง่ายมาก สำหรับคนใช้สลับกับ Magic Trackpad / Keyboard Folio ของ Apple จะเวิคมากๆ ไม่ต้องกังวลเรื่องเจ็บมือหรือเครื่องจะงอตอนงัดออก

  3. ซิลิโคนอ่อนแบบนี้ธรรมชาติของมันคือ ผิวสัมผัสที่เป็นความด้าน มันให้สัมผัสที่ดีมากๆ รู้สึกดีจริงๆ ถ้าใครเคยใช้จะรู้ว่าหลับตาจับ ก็แยกออกอันไหนของ AppleSheep

  4. ข้อดีอีกอย่างที่เราชอบมากคือ มันไม่ค่อยเป็นรอย และไม่เกิดรอยมือมันๆเวลาใช้งาน ทำความสะอาดง่าย ซึ่งจะทำให้ความสวยงามของเคส จะอยู่ได้นานมากๆครับ


ด้วยเหตุสำคัญ สำคัญ ที่อธิบายไปข้างต้นนั้น ทำให้เลือกที่จะใช้ซิลิโคนแบบอ่อนนี้มากกว่าซิลิโคนที่แข็งๆ ซึ่งก็มีลูกค้าบางส่วนถามเข้ามา หลังจากได้รับตัวเคสครับว่าทำไม มันดูอ่อนๆ รู้สึกไม่ปลอดภัย เครื่องจะหลุดไหม ตอบตรงนี้เลยนะครับว่าเครื่องมันไม่หลุดจากเคสแน่นอน ปัญหาเดียวของเคสอ่อน ที่เราศึกษาเลยคือลูกค้าจะรู้สึกรำคานในระยะแรกๆ และไม่เข้าใจว่าทำไมมันอ่อน (ยิ่งลูกค้าที่ใช้วัสดุแบบ Composite หรือ พลาสติกมาก่อนหน้า) จะรู้สึกว่ามันไม่กระชับเท่าเดิม และมีความกังวลว่ามันจะหลุด


แต่พฤติกรรมการใช้งานจริงๆแล้ว ถ้าเราลองคิดดู 95% ของการใช้งานไอแพด เราวางอยู่บนโต๊ะเกือบ 100% เราไม่ได้จับขอบเคสใช้งานตลอดเวลา ไม่เหมือนการใช้ไอโฟนนะครับ ที่ต้องโดนขอบไอโฟนตลอดเวลา อาจจะมีตอนเคลื่อนย้ายบ้างซึ่งก็น้อยมากๆ โอกาสไปสัมผัสโดนตรงขอบที่เป็นปัญหามันก็ไม่บ่อยเลยครับ ยิ่งเมื่อปิดฝาพับหน้าแล้ว โอกาสจับโดนขอบ = 0 จริงๆ สำหรับลูกค้าที่ต้องไปจับตรงมุมบ่อยๆ พอลองทำความเข้าใจและเปลี่ยนพฤติกรรมนิดนึง ก็จะชอบและเป็นแฟนคลับของเคสเรายาวเลยครับ อีกอย่างที่เลิกทำซิลิโคนอ่อนไม่ได้ก็เพราะว่า ลูกค้า 90% ของเราเข้าใจและชื่นชอบซิลิโคนแบบนี้จริงๆครับ


สำหรับลูกค้า 5% ที่เหลือ ที่ไม่ชอบขอบเคสอ่อนๆ ทางเราไม่เคยนิ่งนอนใจครับ พวกเราก็รับฟังเสมอครับ ว่าเพราะอะไร ศึกเพิ่มเติมในหลายๆแง่มุม พบว่าเป็นส่วนน้อยจริงๆครับ ส่วนใหญ่จะพบกับลูกค้าที่ต้องใช้งานไอแพดกลางอากาศ ถือไปใช้ไป ยิ่งคนถนัดมือซ้ายจะมีปัญหาเพราะต้องจับเคสด้านขวาและถือปากากจดมือซ้ายกลางอากาศ (ขอบด้านซ้ายจะแข็งกว่าขอบด้านขวาเพราะมีแกนติดปกซ้อนอยู่) ซึ่งมีเปอร์เซนน้อยมากๆครับ


อย่างที่บอกว่าพวกไม่เคยนิ่งนอนใจกับ Feedback ต่างๆครับ เลยพัฒนาเคส Titan ขึ้นมาโดยใช้ขอบเป็น Compostie ซึ่งตัวนี้ล็อคมุมแบบตายเลยครับ จะใช้กลางอากาศถือยังไงก็ไม่หลุด ตกจากความสูง 3 เมตรก็ไม่แตก (ได้รับ Military Certificate แล้ว)


ย้อนกลับไปคำเดิม มันไม่มีเคสที่ดีที่สุดในโลกนี้ครับ มีแต่เคสที่เหมาะที่สุดเท่านั้น


สุดท้ายแล้ว ต้องขออภัยสำหรับลูกค้าหลายคนที่เราไม่เคยได้นั่งอธิบายจริงๆ ว่าทำไมถึงใช้เคสอ่อนแบบนี้ เพราะดีเทลมันเยอะมากจริงๆครับ พอลูกค้าไม่ชอบ เราก็ได้แต่อธิบายสั้นๆไป ก็อาจจะทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่ดี คิดว่าของมันไม่ดี แต่จริงๆ คือไม่ใช้แบบนั้นนะครับ พวกเราใส่ใจในตัว Product และ Feedback ของลูกค้าเต็ม 100% เสมอมา รับฟังลูกค้าทุกคนตลอดเวลา สุดท้ายเลยทางร้านอยากให้ลองเปิดใจครับ ถ้าเราปรับพฤติกรรมเพียงนิดเดียว นิดเดียวจริงๆ จะรู้ว่าซิลิโคนแบบนี้ถึงจะมีข้อเสียบ้าง แต่คุ้มกว่าที่จะได้รับข้อที่ส่วนที่เหลืออีกมากมายครับ :)


Q/A ที่หลายๆคนอยากรู้

Q1: ซิลิโคนแบบนี้กันงอได้ไหม?

A1: ถ้าเป็น Origami/Trifold ไม่ได้ช่วยกันงอในกรณีที่เจอของหนักๆทับใส่ และไม่ทำให้เคสงอเพราะบีบรัดเครื่องเกินไปครับ ถ้าเราไม่อยากให้เครื่องอ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ไม่เอาของหนักๆไปทับใส่ ไม่ใส่เคสที่บีบรัดไอแพดจนงอ หรือหากระเป๋ากันงอดีๆสวมอีกชั้น แค่นี้เครื่องก็ไม่งอแล้วครับ สำหรับใครที่กังวลเรื่องเครื่องงอๆ ที่ร้านก็มีเคสสำหรับกันงอให้เลือกใช้ด้วยเช่นกันครับ เช่น people / Titan Case แต่ ความหนาก็จะสู้เรื่อง Origami / Trifold ไม่ได้อยู่แล้วครับ


Q2: แล้วซิลิโคนแบบนี้กันกระแทกได้ไหม?

A2: กันกระแทกได้ดีแน่นอนครับ ขึ้นชื่อว่าเป็นซิลิโคน ยังไงก็กันกระแทกได้ครับ โดยเฉพาะเคสของเราที่ขอบตัวเคสทำ Pillar Guard ที่ช่วยซับแรงกระแทกอีกชั้นนึง


อ่านเรื่องราวของโครงการเคส Origami / Trifold เพิ่มเติมได้ที่

ดู 3,852 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page